CHULALONGKORN UNIVERSITY TECHNOLOGY CENTER
  • About
  • Our Portfolio
  • MedVentures
  • AI Academy
  • AI Services/Servers
  • FEDERATED LEARNING
  • PAST WORKSHOPS/SEMINARS
  • PRESS
  • Articles
  • Contact

UTC Articles

DON'T WASTE THE CRISIS

5/3/2020

0 Comments

 

DON'T WASTE THE CRISIS - บทเรียนของการทำนวัตกรรม ภายใต้วิกฤตโควิด 19

UTC ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุด คือประชากรได้ประโยชน์จากงานวิจัยนวัตกรรมที่ออกจากรั้วมหาวิทยาลัย ภายใต้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) ระหว่างห้องปฏิบัติการไปสู่ชุมชน
 
งานเปิดตัวแบบ soft launch ถูกจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ด้วยความเชื่อมั่นว่า โครงการนี้จะเชื่อมโยงงานวิจัยที่อยู่บนหิ้งให้ไปสู่การใช้ประโยชน์ได้สำเร็จ
 
ภายหลังการเปิดตัวได้เพียง 3 เดือน ก็เกิดวิกฤติโรคระบาดโควิด 19 การทำงานของ UTC staff ถูกเปลี่ยนรูปแบบเป็น WFH และ Teleconference ยกเว้นแต่มีความจำเป็นต้องเข้าไปในห้องปฏิบัติการจริง ครั้งนี้ผมขอแชร์ประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากวิกฤต ต่อวัฒนธรรมการทำงานแบบ UTC
​ปัจจัย 4 ข้อที่ช่วยส่งเสริมให้การทำงานภายใต้วิกฤตประสบผลสำเร็จ มีดังนี้
  • Unity - สมาชิกขององค์กรและคนในสังคมรวมใจเป็นหนึ่ง มีความร่วมมือต่อการแก้วิกฤตดังกล่าวอย่างเต็มใจ
  • New leaders - เกิดผู้นำที่มีความสามารถหลายด้าน ตัวอย่างเช่น วิศวกรอาสา นักวิทยาศาสตร์อาสา ฯลฯ สังเกตได้จากการรวมกลุ่มของผู้มีความสามารถเหล่านี้ ซึ่งน่าจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีวิกฤต
  • Resources - ทรัพยากรที่ถูกระดมจากทุกภาคส่วน ในเวลาจำกัดได้อย่างมหัศจรรย์ โรงพยาบาลหลายแห่งรอดพ้นจากภาวะขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • Priority - ทุกคนวางมือจากงานส่วนตัวหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดการทำงานแบบ Cross disciplinary แบบสร้างสรรค์

ปัจจัยแวดล้อม 5 ข้อ ที่สนับสนุนการทำงาน
  • ผู้นำต้องไว้วางใจทีม
  • Agile - ทุกคนมีความสามารถแตกต่างกัน แต่ละคนจึงเป็นผู้นำในเรื่องที่ตนถนัด
  • Innovation - จะเกิดได้เมื่อเราโฟกัสกับ pain point ของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย
  • Policy hacking - การเข้าถึงผู้นำระดับสูงหรือผู้กำหนดนโยบายมีความสำคัญ
  • Public interest - จำไว้เสมอว่า ผลประโยชน์ส่วนรวมมาอันดับหนึ่ง
Picture

 
กรณีตัวอย่าง
Baiya Rapid test เป็นนวัตกรรมชิ้นเอกของ CU startup ที่อาศัยจังหวะวิกฤตเป็นโอกาสในการทำงานแบบ first mover ได้ดีมาก ในช่วงเวลาที่ไม่มีตัวเลือกใดในตลาดด้านการตรวจ covid test หลังจากนั้น UTC ได้มีโอกาสดำเนินการช่วยยื่นจดทะเบียนเครื่องมือแพทย์จน อย รับเข้าไปพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
 
UTC จัดตั้ง COVID task force เพื่อให้ทีมให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้าน Med Tech หลายๆชิ้น และได้โอกาสนำไปทดสอบใช้จริงในเวลาอันสั้นๆ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ ผู้ใช้งานจริง ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง
ทำให้ UTC staff ได้มีโอกาสนำนวัตกรไปพบปะกับลูกค้า และได้ฟัง pain point อย่างแท้จริง
 
ทั้งหมดนี้ถูกดำเนินการในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ เปรียบเสมือนการเร่งความเร็วในการทำงาน เพื่อแข่งกับวิกฤติของสังคม

SPEED จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการทำงานนวัตกรรม


Picture
0 Comments



Leave a Reply.

Picture

CHULALONGKORN
​UNIVERSITY TECHNOLOGY CENTER

Get in touch
Subscribe to Newsletter
Picture
​Copyright © 2020 Chulalongkorn University Technology Center
  • About
  • Our Portfolio
  • MedVentures
  • AI Academy
  • AI Services/Servers
  • FEDERATED LEARNING
  • PAST WORKSHOPS/SEMINARS
  • PRESS
  • Articles
  • Contact